สังเกตปลาป่วย





วิธีสังเกตุปลาป่วย
หลาย ๆ คนอาจรู้สึกแปลกใจว่า แม้แต่ปลาป่วยเรายังสามารถทราบได้หรือ ซึ่งจริง ๆ แล้วสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิดการป่วยให้เห็น เพียงแต่ผู้เลี้ยงมีความรู้และเป็นคนช่างสังเกตมากน้อยแค่ไหน อย่างนักเลี้ยงปลาที่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ปลามากหน่อย ก็จะทราบทันทีว่าปลาที่เลี้ยงมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เพราะเขามีโอกาสคลุกคลีกับปลาอย่างใกล้ชิด จึงสามารถ มองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น สำหรับข้อสังเกตที่จะบอกให้เราทราบว่าปลากำลังป่วยเป็นโรคหรืออาจดูได้จาก พฤติกรรมดังต่อไปนี้
1.ปลามีอาการเชื่องซึมผิดปกติ เช่น ปกติเมื่อเดินเข้าไปใกล้ตู้ปลา ๆ จะว่ายเข้ามาหา แต่ถ้าวันใดปลาไม่ว่ายเข้ามาแสดงว่าปลาอาจจะป่วย
2. ปลาไม่ค่อยยอมกินอาหาร โดยปกติปลาอะโรวาน่าที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีจะมีความกระตือรือร้นในการกินแต่ถ้าวันใดปลาไม่ยอมกินหรือกินน้อยลงแสดงว่าปลาอาจจะป่วย แต่ถ้าเป็นในช่วงหน้าหนาวหรือในช่วงที่อากาศค่อนข้างเย็นและปลาไม่ค่อยยอมกินอาหาร ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในช่วงที่อาการเย็นปลาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกินอาหารอยู่แล้วหรืออาจกินอาหารน้อยลง
3. ปลามีบาดแผลตามตัว ไม่ว่าบาดแผลนั้นจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามควรรีบใส่ยารักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพราะบาดแผลเป็นช่องทางให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นปลาที่มีบาดแผลจึงถือว่าเป็นปลาป่วย
4. ปลาว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ และว่ายน้ำเร็วผิดปกติ แสดงว่าปลากำลังป่วยเป็นโรคแน่นอน ซึ่งลักษณะอาการสั่นกระตุกอาจเกิดจากการที่ปลาถูกศัตรูรบกวน เช่น เกิดอาการแสบหรือคัน และโดยสัญชาตญาณปลาก็จะว่ายด้วยความเร็วเพื่อหนีให้พ้นจากศัตรูที่มารังควาน
5. ปลาว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือขอบอ่างเสมอ ๆ ซึ่งลักษณะการถูตัวก็คล้าย ๆ กันการเกาแก้คันของมนุษย์นั้นเอง
6. ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติคล้ายมีวุ้นขาวเกาะตามตัว ลักษณะเช่นนี้โดยมากจะเกิดในกรณีที่ปลาผิดน้ำหรือแพ้อากาศ ควรรีบแก้ไขโดยการเพิ่มอุณหภูมิน้ำ
7. ปลาว่ายน้ำหมุนควงหรือตีลังกาเสมอ ๆ หรือปลาทรงตัวไม่ค่อยได้ เช่น เดี๋ยวพุ่งตัวขึ้นสู่ผิดน้ำแต่เดี๋ยวก็ค่อย ๆ จมลงสู่กันน้ำ
8. ครีบและหางของปลาเกิดการขาดแหล่งหรือมีขุยจับอยู่ตามปลายครีบและหาง หรือหางและครีบของปลามีสีแดงจะตกเลือด
9. ตามตัวมีสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เกาะติดอยู่ เช่น ลักษณะเป็นเส้นด้ายหรือเป็นก้อนสีขาวคล้ายสำลี หรือเป็นเม็ดใสคล้ายวุ้น หรือเป็นตุ่มนูนคล้ายเม็ดสิว ฯลฯ
10. เหงือกของปลาหางออกมาก เหงือกเปิดหรือบวมแดง ซึ่งลักษณะอาการเช่นนี้โดยมากมีสาเหตุเกิดจากการที่ปลาหายใจไม่สะดวกและเหงือกต้องทำงานหนักผิดปกติจนทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ
11. เกล็ดของปลาตั้งชันผิดปกติ ลักษณะอาการคล้ายกับแมวพองขน
12. ตาขอปลามีลักษณะเป็นฝ้าขาวหรือเป็นจุดขาว
13. ปลาว่ายลอยคอที่ระดับผิดน้ำหรือบกดานอยู่ที่ท่ออ๊อกซิเจน ลักษณะอาการเช่นนี้แสดงว่าอ๊อกซิเจนในน้ำมีปริมาณไม่พอเพียงกับความต้องการ หรือปลาอาจกำลังป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น